รายละเอียดการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม
จุดประสงค์ของการทดสอบหาความสมบูรณ์ของเสาเข็มเจาะก็เพื่อที่จะทราบถึงความต่อเนื่องและสภาพทั่วไปของเสาเข็มรวมทั้งคุณสมบัติของเสาเข็มต้นนั้น ๆ การทดสอบเสาเข็มอาจแบ่งได้เป็น 2 วิธีคือ
1. การทดสอบโดยวิธี Low Strian Integrity Test (Seismic Test)
วัตถุประสงค์ของการทดสอบเพื่อที่จะตรวจสอบถึงสภาพความสมบูรณ์ของเสาเข็มซึ่งอาจมีความเสียหายเกิดขึ้นเนื่องจากการแตกร้าวของเสาเข็มหรือความไม่ต่อเนื่องของเสาเข็มอาทิเช่นความเป็นโพรง (Honeycomb) ความไม่เป็นเนื้อเดียวกันของคอนกรีตเป็นต้น
1.1 เครื่องมือทดสอบเครื่องมือทดสอบประกอบไปด้วย
เครื่องมือทดสอบ P.T Collector เป็นตัวบันทึกสัญญาณที่ได้จากการทดสอบ
ตัวรับสัญญาณความเร่ง (Accelerometer) เป็นหัววัดสัญญาณที่มีความไวสูงมากซึ่งสามารถแปลงสัญญาณจาก Analog Data ไปเป็น Digital Data
ฆ้อนที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ (Hand Held Hammer) ทำหน้าที่เป็นตัวให้พลังงานความเห็น
1.2 ขั้นตอนการทดสอบ
การทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มเจาะกระทำโดยการติดตั้งเครื่องมือที่ตัวเสาเข็มที่จะทำการทดสอบโดยการเปิดหน้าดินเตรียมหัวเสาเข็มโดยการทำความสะอาดและปรับหัวสัมผัสให้เรียบการทดสอบกระทำโดยการติดตั้งตัวรับสัญญาณที่หัวเสาเข็มและให้พลังงานความเค้นโดยใช้ฆ้อนซึ่งจะทำให้เกิดคลื่นของความเค้นส่งไปตลอดความยาวของเสาเข็ม
การเก็บสัญญาณความเร่งของคลื่นความเค้นได้มาจากการให้พลังงานโดยใช้ฆ้อนเป็นตัวส่งพลังงานแล้วแปลงกลับมาเป็นความเร็วซึ่งจะแสดงผลและเก็บข้อมูลบน P.T Collector Monitor ซึ่งกราฟคาวมเร็วของคลื่นและเวลาสามารถบอกเราได้ถึงการเพิ่มหรือลดค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ของเสาเข็ม ณ ตำแหน่งใด ๆ ที่ต่ำจากระดับของหัวเสาเข็ม
สัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ของเสาเข็มคือค่าของ EA / C เมื่อ E และ A คือ Material Elastic Modulus และพื้นที่หน้าตัด (Cross Sectional Area) ตามลำดับและ C คือความเร็วของคลื่นความเค้น (Stress Wave Speed) โดยหลักการแล้วค่า Elastic Modulus และความเร็ว (C) ค่อนข้างจะคงที่เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ของเสาเข็มโดยปกติจะเป็นการบอกถึงการเปลี่ยนแปลงพื้นที่หน้าตัดและ / หรือ Elastic Modulus ของเสาคอนกรีต
2. การทดสอบโดยวิธี Dynamic Load Test
เป็นการทดสอบเพื่อหาค่าหน่วยแรงในเสาเข็มระหว่างการตอก (Driving Stresses) ค่าความสมบูรณ์ของเสาเข็ม (Ple Integity) ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ตอกเสาเข็ม (Hammer Performance) และค่าน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม (Ple's Mobilized Capacity) รวมทั้งค่าการทรุดตัว (Settlement) โดยใช้ Driving Analyzer TM (PDA) ซึ่งจะทำการค้านา ณ ค่าต่างๆโดยวิธีที่เรียกว่า Case Method ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน ASTM D 4945 และ AASHTOT 298
การวัด Dynamic ทำโดยการติดตั้งชุดของเครื่องมือวัดคือ ACCelerometer และ Strain Transducers ไว้ที่ด้านข้างของเสาเข็ม 2 ด้านตรงข้ามกันใกล้กับส่วนบนของเสาเข็มระหว่างทำการตอก PDA จะทำการบันทึกและคำนา ณ ผลของพลังงานถ่ายเทที่มากที่สุด (Maximum Harmrmer Transferred (Energy) แรงกดอัดที่มากที่สุด (Maximum Force) อัตราการตอกของลูกตุ้ม (Hammer Operating Rate) และค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม (Ple's Mobilized Capacity) แรงและความเร็วของ Stress wave จะถูกบันทึกและตรวจสอบคุณภาพของสัญญาณได้ขณะทำการทดสอบโดยเครื่อง PDA เพื่อใช้หาค่าความสมบูรณ์ของเสาเข็ม (Ple Integity) และลักษณะการรับน้ำหนักของชั้นดินเครื่อง PDA จะรับสัญญาณแบบอนาล็อก Accelerometer และ Strain Transducers แล้วแปลงเป็นดิจิตอลแล้วทำการบันทึกข้อมูลแบบ Dynamic นี้เพื่อนำไปวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ CAPWAP
เงื่อนไขการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม
บริษัท ยูนิคอร์น บอร์ไพล์ จำกัด
รับเหมาเจาะเสาเข็มทั่วประเทศ
999/343 หมู่ 11 ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง
จังหวัดพิษณุโลก 65000
087-575-4756, 093-251-4433
unicornborepile@gmail.com
เสาเข็มเจาะ ยูนิคอร์น บอร์ไพล์ รับเหมางานเสาเข็มเจาะทั่วประเทศ 0875754756
Kangoasis