การเจาะเสาเข็มระบบเปียก (WET PROCESS)


     ในการทำเสาเข็มเจาะระบบนี้ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ค่อนข้างยุ่งยากการเคลื่อนย้ายไม่ค่อยสะดวกอุปกรณ์หลักในการปฏิบัติงานประกอบด้วยรถบรรทุกขนาด 7.5 ต้นที่บริเวณด้านหลังติดตั้งเครน ขนาด 4 ตันซึ่งเครนที่ติดตั้งจะควบคุมด้วยระบบไฮโดรลิกในการทำงานที่ปลายเครนติดตั้งหัวสว่านที่เป็นมอเตอร์ไฮโดรลิกเพื่อใช้ในการขุดเจาะ

ขั้นตอนที่ 1 การนำเครื่องมือเข้าศูนย์กลางเสาเข็มเจาะ

นำรถบบรรทุกที่ติดตั้งเครนเข้าสู่จุดศูนย์กลางของเสาเข็มโดยให้บริเวณปลายเครนที่ติดตั้งดอกสว่านอยู่จุดกึ่งกลางของเสาเข็มแล้วใช้ระบบไฮโดรลิกในการบังคับดอกสว่านให้หมุนนเจาะเป็นรูลึก (PREBORE) ประมาณ 1 เมตร

ขั้นตอนที่ 2 การใส่ปลอกเหล็กชั่วคราว (CASING)

2.1 ขนาดและความยาวของปอกเหล็กชั่วคราว (CASING) มีลักษณะเป็นวงกลมมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่าหรือขนาดเดียวกันกับเสาเข็มเจาะที่ต้องการซึ่งปลอกเหล็กชั่วคราวจะมีความยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตรซึ่งความยาวอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับความต้องการในการบล็อคดินโดยที่ปลอกเหล็กชั่วคราวจะมีลักษณะเป็นท่อกลมยาวตลอดตามความลึกที่ต้องการในการทำงานจะนำปลอกเหล็กชั่วคราวตอกลงไปในหลุมที่เจาะไว้ผ่านชั้นดินที่ไม่มีเสถียรภาพ (UNSTABLE STRATUM) ซึ่งอยู่ด้านบนจนกระทั่งปลอกเหล็กชั่วคราวถึงชั้นดินที่มีเสถียรภาพ (STABLE STRATUM) เพื่อป้องกันการเคลื่อนพังของผนังรูเจาะ

2.2 การควบคุมตำแหน่งให้ถูกต้องและอยู่ในแนวดิ่งการทำงานการตอกปลอกเหล็กชั่วคราวลงไปในชั้นดินจะต้องมีการตรวจสอบตำแหน่งศูนย์กลางของเสาเข็มและในแนวดิ่งอยู่เสมอเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เข็มเจาะเลี้ยงและคลาดเคลื่อนจากจุดศูนย์กลางของเสาเข็ม

ขั้นตอนที่ 3 การเจาะ

3.1 อุปกรณ์ที่ใช้ในการเจาะจะใช้ระบบไฮโดรลิกที่ติดตั้งอยู่บนรถบรรทุกบังคับให้ตอกสว่านหมุนเจาะลงไปในพื้นดินเมื่อสว่านเจาะลงไปในดินดินด้านบนจะติดขึ้นมากับดอกสว่านซึ่งมีลักษณะเป็นเกลียวเมื่อพิจารณาว่าดินเต็มดอกสว่านแล้วก็สามารถยกดอกสว่านขึ้นมาจากหลุมเจาะจากนั้นนำดินมาทิ้งไว้บนพื้นดินที่มีระยะห่างจากปากหลุมเจาะและจะต้องไม่ทับหมุดของเสาเข็มต้นข้างเคียงซึ่งจะทำให้ต้องหาหมุดใหม่และการเจาะจะดำเนินไปจนกระทั่งได้ความลีกที่ต้องการ แต่ต้องไม่ลึกเลยปลายปลอกเหล็กชั่วคราว

3.2 การใส่น้ำยาเบนโทไนท์ (BENTONITE) เมื่อเจาะจนได้ระดับความลึกที่ต้องการแล้ว แต่ต้องไม่เลยปลายปลอกเหล็กชั่วคราวจะใส่น้ำยาเบนโทไนท์ลงไปในหลุมเจาะซึ่งระดับน้ำยาเบนโทไนท์จะลึกประมาณ 1 เมตรจากระดับปากปลอกเหล็กชั่วคราวโดยที่ค่าน้ำยาเบนโทไนท์จะอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดเช่นค่า PH ระหว่าง 7-11 ปริมาณที่ผสม 2-6% เป็นต้นจากนั้นจะนำกระป๋องเก็บดิน (พ๊อคเก็ต) ลงไปในหลุมเจาะโดยจะหมุนกระป๋องเก็บดินเพื่อทำการเก็บดินในหลุมเจาะลงไปเรื่อย ๆ เมื่อมีดินในกระป๋องเต็มแล้วก็จะดึงขึ้นมาทิ้งไว้ด้านบนและจะเติมน้ำยาเบนโทไนท์ลงไปเพิ่มเติมอีกเพื่อให้ระดับน้ำยาเบนโทไนท์ในหลุมคงที่จากนั้นจะเจาะโดยใช้กระป๋องเก็บดินจนถึงความลึกที่ต้องการและทำความสะอาดก้นหลุมให้เรียบร้อยก่อนใส่โครงเหล็กเสาเข็ม

ขั้นตอนที่ 4 การใส่เหล็กเสริม

4.1 ชนิดของเหล็กเสริมใช้เหล็กเสริมข้ออ้อยชั้นคุณภาพ SD40 ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมมอก. 24-2536

4.2 ขนาตและปริมาณของเหล็กเสริมใช้ตามกำหนดของวิศวกรรมผู้ออกแบบ

4.3 การใส่เหล็กเสริมหย่อนโครงเหล็กให้อยู่ตรงกลางของรูเจาะจนถึงระดับที่ต้องการและยึดให้แน่นหนาเพื่อที่ขณะเทคอนกรีตโครงเหล็กจะไม่ขยับเขยื้อน

ขั้นตอนที่ 5 การใส่ท่อทริมมี่ (TREMIE PIPE)

ท่อทริมมี่ (TREMIE PIPE) เป็นเหล็กท่อกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-8 นิ้วมีความยาวแต่ละท่อนประมาณ 6 เมตรที่ปลายทั้งสองข้างมีการทำเป็นเกลียวตัวผู้และตัวเมียเพื่อใช้สำหรับการต่อท่อที่ปลายท่อท่อนสุดท้ายจะทำเป็นกรวยเพื่อให้ง่ายต่อการทคอนกรีตเมื่อใส่โครงเหล็กแล้วจะนำท่อทริมมีใส่ลงไปในโครงเหล็กทีละท่อนและจะต่อทริมมลงไปเรื่อย ๆ โดยการหมุนเกลียวที่ปลายของท่อให้เข้ากันจนแน่นจนกว่าจะถึงก้นหลุม

ขั้นตอนที่ 6 วิธีเทคอนกรีต

เมื่อรูเจาะได้รับการตรวจสอบและมีความพร้อมที่จะเทคอนกรีตได้ต้องรีบเทคอนกรีตทันทีการเทคอนกรีตจะเทผ่านท่อทริมมี่เพื่อให้คอนกรีตไหลลงไปให้ถึงก้นหลุมโดยก่อนการเทคอนกรีตจะทำการเท โฟมลงไปก่อนเพื่อไม่ให้น้ำยาเบนโทไนท์ผสมกับคอนกรีตและขณะที่กำลังเทคอนกรีตนั้นจะขยับท่อทริมมี่ขึ้น-ลงเพื่อไม่ให้เนื้อคอนกรีตจับที่ท่อทริมมี่และท่อทริมมีจะจมอยู่ในเนื้อคอนกรีตที่กำลังเทเมื่อเนื้อของคอนกรีตที่เทลงไปเพิ่มมากขึ้นจึงค่อยดึงท่อทริมมีขึ้นมาและถอดออกทีละท่อนซึ่งในขณะที่ถอดท่อทริมมีนั้นที่ปลายของท่อจะจมอยู่ในคอนกรีตประมาณ 5 เมตรและจะเทคอนกรีตลงไปในหลุมจนกว่าจะเห็นเนื้อของคอนกรีตโผล่พ้นปากหลุมและการเทคอนกรีตจะเทอย่างต่อเนื่องจนกว่าคอนกรีตจะเต็มหลุมในขณะที่เทคอนกรีตจะมีน้ำยาเบนโทไนท์ล้นออกมาจะใช้เครื่องไดโว่ดูดน้ำยาเข้าถังเก็บไว้ใช้ในหลุมต่อไปหากพบว่าน้ำยาขาดคุณภาพก็จะใช้ชุดใหม่ในการดำเนินงาน

ขั้นตอนที่ 7 การถอดปลอกเหล็กชั่วคราว (CASING)

จะต้องเทคอนกรีตให้มีระดับสูงกว่าปลอกเหล็กชั่วคราวพอสมควรจึงจะเริ่มถอดปลอกเหล็กชั่วคราวขึ้นโดยปกติขณะถอดปลอกเหล็กจะต้องให้มีคอนกรีตอยู่ภายในปลอกเหล็กไม่น้อยกว่า 0.5 ม. เพื่อป้องกันไม่ให้ชั้นดินอ่อนบีบตัวทำให้ขนาดเสาเข็มเปลี่ยนไปและเป็นการป้องกันมิให้น้ำใต้ดินไหลซึมเข้ามาในรูเจาะก่อนที่จะทำการถอดปลอกเหล็กชั่วคราวออกหมดจะต้องเตรียมคอนกรีตให้มีปริมาณเพียงพอและจะต้องเผื่อคอนกรีตให้สูงกว่าระดับที่ต้องการประมาณ 30-40 ซม. เพื่อป้องกันมิให้หัวเข็มในระดับที่ต้องการสกปรกเนื่องจากวัสดุหรือเศษดินร่วงหล่นลงไปภายหลังจากการถอดปลอกเหล็กชั่วคราวออกหมดแล้ว

ติดต่อเรา

บริษัท ยูนิคอร์น บอร์ไพล์ จำกัด
รับเหมาเจาะเสาเข็มทั่วประเทศ

 999/343 หมู่ 11 ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง
จังหวัดพิษณุโลก 65000

 087-575-4756, 093-251-4433
 unicornborepile@gmail.com
 เสาเข็มเจาะ ยูนิคอร์น บอร์ไพล์ รับเหมางานเสาเข็มเจาะทั่วประเทศ 0875754756
 Kangoasis

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้